หน้าแรก
  

 

 

การทำงานของเครื่องยนต์

Computer Bussiness
2005 Rajamangala University of Technology Chanthaburi . All rights Reserved
Welcome all comments, please click here to contact me
JSMoter.com

เครื่องยนต์มีลักษณะการทำงานที่คล้าย ๆ กัน ดังนี้
Top

การทำงานของเครื่องยนต์เริ่มจากจังหวะจุดระเบิด
เฟืองราวลิ้นจะเริ่มหมุนทวนเข็มนาฬิกาไปสู่จังหวะการคายไอเสีย

เมื่อจุดมาร์คที่ตัวเฟืองเคลื่อนที่มาตำแหน่งตรงกับมาร์คที่ฝาสูบ จะเป็นตำแหน่งที่ศูนย์ตายบน วาล์วทั้งสองปิดสนิทระหว่างการจุดระเบิด
เริ่มต้นจากจุดชี้ตำแหน่งที่ตรงกัน ระหว่างชี้ตำแหน่งที่ฝาสูบกับจุดชี้ตำแหน่งที่เฟืองโว่ราวลิ้น หมายถึง ตำแหน่งที่ลูกสูบอยู่ที่ตำแหน่งสูงสุดของการเคลื่อนตัวภายในกระบอกสูบ และวาล์วทั้งสองตัวปิดท่อทางเกินของก๊าซอย่างสนิท หรือแบบที่เรียกว่า "การตัดขาดจากโลกภายนอก" (จุดศูนย์ตายบน)

ความสัมพันธ์ของจุดมาร์คที่เฟืองเพลาราวลิ้นและตำแหน่งที่ฝาสูบ กับ การทำงานของเครื่องยนต์
ความสัมพันธ์ของจุดมาร์คที่เฟืองเพลาราวลิ้นและตำแหน่งที่ฝาสูบ กับ การทำงานของเครื่องยนต์

เฟืองราวลิ้นเมื่อหมุน 1/4 รอบ (90 องศา)จะเท่ากับเพลาข้อเหวี่ยง
หมุนเคลื่อนที่ 1/2 รอบ (180 องศา) พร้อมกับหมุนพาลูกสูบลงที่ตำแหน่งศูนย์ตายล่าง

และเมื่อจุดชี้ตำแหน่งของเฟืองโว่ราวลิ้น เคลื่อนตัวมาที่ตำแหน่ง 90 องศ่าโคจรรอบตัวเอง ณ ตรงนี้จะหมายถึงลูกสูบได้ถูกเพลาข้อเหวี่ยงทำการฉุดกระชากลงมาโดยผ่านทางอุปกรณ์ที่เรียกว่า "ก้านสูบ" ให้ลงมาที่ตำแหน่งที่ต่ำที่สุดเท่าที่ลูกสูบจะสามารถลงมาได้ ถ้าลูกสูบสามารถลงไปได้ต่ำกว่าตรงนี้ หมายถึงเจ้าของรถฯ ต้องเสียตังค์อีกแล้ว (หมายถึง ตำแหน่ง ศูนย์ตายล่างนั้นเอง) สำหรับการทำงานแบบหยาบ ๆ ได้ถูกบ่งบอกไว้ที่ภาพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เฟืองราวลิ้นเมื่อหมุน 3/4 รอบ (270 องศา)จะเท่ากับเพลาข้อเหวี่ยง
หมุนพาลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นลง 1 รอบครึ่ง (5400 องศา) พาลูกสูบขึ้นสู่จุดศูนย์ตายล่างอีกครั้ง

แล้วเมื่อการเคลื่อนที่ของจุดชี้ตำแหน่งที่เฟืองราวลิ้นมาถึงที่ตำแหน่ง 270 องศาของการโคจรรอบตัวเอง ลูกสูบก็ต้องจำใจลงมาที่จุดต่ำสุดอีก ซึ่งจริง ๆ ล้วมันก็คือหน้าที่การทำงานของตัวมันเงที่ต้องเคลือ่นตัวขึ้นลงเพื่อสร้างและแปลงพลังงาน เพื่อส่งต่อพลังงานที่เกิดขึ้นตรงนี้ให้ถ่ายทอดไปยังล้อหลังเพื่อความสะใจของผู้เป็นเจ้าของรถฯนั่นเอง เมื่อการทำงานมาถึงตรงนี้ ระบบการทำงานได้ผ่านจากจังหวะดูด (คือหลังจากที่ได้ดูดมาอย่างเต็มที่) ลูกสูบก็จะเริ่มขยับตังเองขึ้นอีกครั้งในจังหวะอัด เพื่อการจุดระเบิด กำเนิดพลังงาน ตามหน้าที่ที่มันมีส่วนภาคภูมิใจนักหนา

เฟืองราวลิ้นเมื่อหมุน 1 รอบ (360 องศา)จะเท่ากับเพลาข้อเหวี่ยง
หมุนพาลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นลง 2 รอบ (720 องศา) พาลูกสูบขึ้นสู่จุดศูนย์ตายบน
ครบจังหวะการทำงานของการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ

คำกล่าว "ไม่มีงานเลี้ยงใด ที่ไม่เลิกลา" เมื่อจุดชี้ตำแหน่งของเฟืองโซ่ราวลิ้นได้มีโอกาสโคจรกลับมายังตำแหน่งที่มันจากมาอีกครั้ง ก็จะหมายถึงพลังงานดิบทีมีกำลังมหาศาลที่มันได้พกพามาด้วยหลังการจุดระเบิดก็พร้อมแล้วที่จะส่งตรงเพื่อให้ถึงมือคุณทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น คือลำดับการกำเนิดพลังงานภายในเครื่องยนต์แบบคร่าว โดยการทำงานร่วมกันของชิ้นส่วนและอุปกรณ์ในเครื่องยนต
์ทุกชิ้นได้ร่วมมือกันสร้างเพื่อคุณ เป็นไงครับรู้สึกภูมิใจกับรถจักรยานยนต์ของคุณขึ้นมาบ้างไหมครับ

เฟืองราวลิ้นเมื่อหมุน 1/2 รอบ (180 องศา)จะเท่ากับเพลาข้อเหวี่ยง
หมุนพาลูกสูบเคลื่อนที่ลง 1 รอบ (360 องศา) พาลูกสูบขึ้นสู่จุดศูนย์ตายบน
แต่เพลาลูกเบี้ยวทำงานในจังหวะโอเวอร์แลป

และเมื่อจุดชี้ตำแหน่งของเฟืองโซ่ราวลิ้นเคลื่อนตัวมาที่ตำแหน่ง180องศาของการโคจรรอบตัวเอง'ล่าวคือจุดที่ตรงกันข้ามกัน
พอดิบพอดีกับจุดชี้ตำแหน่งที่ฝาสูบ ณตรงนี้จะหมายถึงลูกสูบได้ถูกเพลาข้อเหวี่ยงทำการพลักดันด้วบกำลังที่ยากจะแบ็งขันได้ให้กลับมาที่จุดสูงสุด ของตำแหน่งการเคลื่อนตัวอีกครั้ง (หมายถึงตำแหน่ง ศูนย์ตายบน แต่สำหรับระบบการทำงานของเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ การกลับขึ้นมาครั้งแรกของลูกสูบกลับยังไม่เรียกว่าตำแหน่งศูนย์ตายบน แต่กลับเรียกการกลับขึ้นมาครั้งนี้ของลูกสูบว่า "ตำแหน่ง โอเวอร์แลป") ตรงจุดนี้เองที่วาล์วทั้งสองก็แค่เกือบ จะประสานงากันอย่างจัง แต่อย่าเพิ่งตกใจ มันก็แค่เกือบ เกือบแค่เกือบเท่านั้น