การทำงานของเครื่องยนต์

Computer Bussiness
2005 Rajamangala University of Technology Chanthaburi . All rights Reserved
Welcome all comments, please click here to contact me
JSMotor.th.gs

เครื่องยนต์ 2 จังหวะ

เครื่องยนต ์2 จังหวะ(CycleEngine)
          เป็นเครื่องยนต์แบบง่ายการทำงานและชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์2จังหวะมีความยุ่งยากน้อยกว่าเครื่องยนต์แบบ 4จังหวะการนำเอากาศดีเข้าไปในกระบอกสูบและปล่อยอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้ออกจากกระบอกสูบเกิดขึ้นโดยการเปิดและปิดของลูกสูบเองเครื่องยนต์ชนิดนี้จึงไม่จำเป็นต้องมีลิ้นและกลไกเกี่ยว กับลิ้น

ลักษณะของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ มีดังนี้
          1. อ่างน้ำมันเครื่องปิดสนิทแต่เครื่องยนต์บางแบบมีช่องให้อากาศหรือไอดีเข้าเพื่อผ่านขึ้นไปในกระบอกสูบ
          2. ไม่มีเครื่องกลไกของลิ้น ลูกสูบจะทำหน้าที่เป็นลิ้นเอง
          3. กระบอกสูบอยู่ในลักษณะตั้งตรง
          4. มีช่องไอดี (Inlet Port) เป็นทางให้อากาศเข้าไปภายในกระบอกสูบ โดยอาจจะมีเครื่องเป่าอากาศช่วยเป่าเข้าไป
          5. มีช่องไอเสีย (Exhaust Port) เป็นทางให้อากาศเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ออกไปจากกระบอกสูบ

การทำงานของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ มีดังนี้
          1. จังหวะคายและดูด ลูกสูบจะเคลื่อนที่จากจุดศูนย์ตายบนลงมาเรื่อยๆ จนผ่านช่องไอเสีย ไอเสียก็จะผ่านออกไปทางช่องนี้เมื่อลูกสูบเคลื่อนต่อไปอีกเล็กน้อย ช่องไอดีก็จะเปิดให้อากาศเข้าไปในกระบอกสูบและไล่ไอเสียออกไปจนหมดสิ้น ลูกสูบจะเคลื่อนลงจนถึงจุดศูนย์ตายล่าง
          2. จังหวะอัดและระเบิด ลูกสูบจะเคลื่อนจากศูนย์ตายล่างขึ้นไปเรื่อยๆ จนปิดช่องไอดีและช่องไอเสียตามลำดับ พร้อมกับอัดอากาศไปด้วยเมื่อลูกสูบเคลื่อนเข้าใกล้จุดศูนย์ตายบนหัวฉีดก็จะทำการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้แตกเป็นฝอยเล็กๆเข้าไปกระทบกับอากาศที่ถูกอัดจนร้อนทำให้เกิดการเผาไหม้และ ระเบิดดันลูกสูบให้ทำงานในขณะเดียวกันไอเสียก็จะมีความดันสูงด้วยเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงมาเปิดช่องไอดีอากาศก็จะเข้ามาและทำการขับไล่ไอเสียออกไปทางช่องไอเสียเหลือไว้เพียงแต่ไอดีในห้องเผาไหม้จะเห็นได้ว่าเมื่อเครื่องยนต์ทำงานครบ2จังหวะเพลาข้อเหวี่ยงจะหมุนไปได้หนึ่งรอบเมื่อลูกสูบอยู่ที่ตำแหน่งศูนย์ตายล่างในจังหวะดูดภายในกระบอกสูบจะมีปริมาตรที่บรรจุ
ส่วนผสมน้ำมันและอากาศหรืออากาศเพียงอย่างเดียวเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นในจังหวะอัดปริมาตรนี้จะถูกอัดให้ลดลงตรงส่วนของลูกสูบเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ถึงจุดศูนย์ตายบนปริมาตรจะมีขนาดเล็กที่สุดบริเวณที่มีปริมาตรเล็กนี้ถูกเรียกว่าห้องเผาไหม้สัดส่วนความอัด(CompressionRatio)อัตราส่วนระหว่างปริมาตรภายในกระบอกสูบเมื่อลูกสูบอยู่ที่จุดศูนย์ตายล่างกับปริมาตรภายในกระบอกสูบเมื่อลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ตายบน

        สัดส่วนความอัด ของเครื่องยนต์มีความสำคัญมากเพราะมีความสัมพันธ์กับชนิดและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะนำไปใช้เครื่องยนต์เบนซินจะมีสัดส่วนความอัดอยู่ระหว่าง 5.5/1 ถึง 8/1 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลนั้น น้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดเข้าไปในกระบอกสูบหลังจากที่อากาศถูกอัดแล้ว สัดส่วนความอัดอยู่ระหว่าง 14/1 ถึง 18/1

Top